Blog

เมื่อไหร่? ที่จะผ่าตัด “ต้อเนื้อ” EP11

เป็นต้อเนื้อแล้วต้องผ่าตัดไหม ?

ต้องผ่าตัดในกรณีที่…

  1. ต้อเนื้อก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตามาก เกิดการอักเสบซ้ำ
  2. ต้อเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นและลุกลามเข้าไปกลางกระจกตาซึ่งอาจจะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็น
  3. ต้อเนื้อทำให้การกรอกตาผิดปกติ ทำให้คนไข้อาจเห็นภาพซ้อนได้
  4. ต้อเนื้อส่งผลต่ออาชีพการงานและความมั่นใจในการทำงาน

ผ่าตัดต้อเนื้อ หรือ ลอกต้อเนื้อ เหมือนกันหรือไม่ ?

คำ ว่าผ่าตัดต้อเนื้อ น่าจะเป็นภาษาเขียน แต่คำ ว่าลอกต้อเนื้อ น่าจะมาจากภาษาพูดที่คนเราพูดแล้ว
เข้าใจกัน แต่โดยจุดประสงค์ หลักการและวิธีการทำ คือสิ่งเดียวกัน

การผ่าตัดต้อเนื้อ หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pterygium excision

คือ การเอาเนื้อเยื่อของตาขาวที่เจริญเติบโตเข้าไปเกาะบนผิวกระจกตาออก

การผ่าตัดลอกต้อเนื้อนั้น ในอดีตผลการรักษาอาจจะมีการเกิดซ้ำ ของต้อเนื้อได้ตั้งมากถึง 88% แต่ในปัจจุบัน
ซึ่งวิวัฒนาการและการแพทย์เจริญเติบโตขึ้น ค้นพบว่า หากเราทำการผ่าตัดต้อเนื้อแล้วใช้เนื้อเยื่อบุตาขาวของผู้ป่วยเองมาปะแผลด้วยวิธีการใช้กาวติด (Pterygium excision with conjunctival autograft with fibrin glue) สามารถลดอัตราการเป็นซ้ำได้อยู่น้อยกว่า 9%

วิธีการผ่าตัดต้อเนื้อในปัจจุบัน

  1. เราจะใช้วิธีการหยอดยาชาร่วมกับการฉีดยาชาบริเวณรอบต้อเนื้อ เพื่อระงับความเจ็บปวดระหว่างทำการผ่าตัด
  2. ลอกต้อเนื้อ (บริเวณสีม่วงทั้งบริเวณเยื่อบุตาขาวและที่ลามเข้าไปกระจกตา) ก่อน
  3. นำเยื่อบุตาขาวด้านบน (บริเวณสีเหลี่ยมคางหมูสีเทา) ตัดลงมาแปะบริเวณแผลที่ลอกต้อเนื้อออก (บริเวณสีม่วงในส่วนเยื่อบุตาขาว) ด้วยกาว
  4. หลังผ่าตัดจะหยอดยา และ ป้ายยา พร้อมกับปิดตาแน่นด้วยผ้าก๊อซปิดตา 1 คืน

ระยะเวลาในการผ่าตัดต้อเนื้อ ประมาณ 45-60 นาที