รู้จักโรคต้อหิน EP1
ต้อหินคืออะไร?
ต้อหิน เป็นกลุ่มโรคที่มีการทำลายของขั้วประสาทตา “ไม่ได้เป็นโรคที่คนไข้จะมีหินอยู่ในตา” โรคต้อหิน ทำให้เกิดการสูญเสียลานสายตาและการมองเห็นอย่างถาวร โดยปัจจัยเสี่ยงที่่สำคัญที่ทำให้เกิดต้อหินคือ ภาวะความดันลูกตาที่สูงผิดปกติ
ความดันลูกตา (ปกติ ความดันลูกตาจะมีค่าไม่เกิน 21 mmHg)
ความดันลูกตาสูงผิดปกติ หรือเกิน 21 mmHg
จะไปกดหรือทำลายขั้วประสาทตาภายในลูกตา เมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลาย เส้นประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นจึงไม่สามารถส่งสัญญาณภาพจากตาไปยังสมองได้ ทำให้สูญเสียการมองเห็น
ทำไม?ความดันลูกตาสูง
เนื่องจากภายในลูกตาจะมีน้ำในลูกตาอยู่ เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ เช่น ให้อาหารหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆภายในลูกตา โดยปกติระบบไหลเวียนน้ำในลูกตาคือระบบที่สร้างกับระบบที่ระบายจะสมดุลกัน
หากระบบใดระบบหนึ่งผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นภาวะการสร้างที่มากขึ้น หรือระบบที่การระบายทำงานได้แย่ลง ส่งผลให้ความดันลูกตาสูง
“อายุ”ที่มากขึ้น จะทำให้มีความเสื่อมของช่องทางระบายน้ำในลูกตาอยู่แล้ว ทำให้น้ำในลูกตาไม่สามารถระบายออกได้เกิดความไม่สมดุล น้ำคั่งอยู่ภายในลูกตา ทำให้ความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้นสูงได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อหิน และ ใคร?ที่ควรมาตรวจคัดกรองโรคต้อหิน
- อายุมากกว่า 40 ปี
- มีญาติสายตรงเป็นต้อหิน ( เสี่ยงเป็นโรคต้อหินเพิ่มกว่าคนที่ไม่มีประวัติได้ 5 เท่า)
- อุบัติเหตุทางตา
- มีประวัติผ่าตัดตาที่อาจจะรบกวนระบบไหลเวียนของน้ำในลูกตา
- การใช้ยาสเตียรอยด์ ไม่ว่าจะใช้ในรูปแบบหยอด กิน ฉีด ทา หรือ พ่นจมูก
- คนที่มีสายตาสั้นมากๆหรือยาวมากๆ
- ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา, โรคไทรอยด์, โรคที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น
ดังนั้น … หากท่านมีอายุมากกว่า 40 ปี หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรมาพบจักษุแพทย์ตรวจตาและคัดกรองค้นหาโรคต้อหิน เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร