Blog

เลนส์ตาที่ขุ่นมัว คือ ต้อกระจก หรือไม่? EP6

ความดันลูกตาสูง กับ ต้อกระจก

เลนส์ตาที่ขุ่นมัว คือ ต้อกระจก หรือไม่?

เลนส์ตาของเราอยู่ที่ไหน? เลนส์ตาของเราอยู่หลังม่านตา ปกติจะใส ช่วยในการเพิ่มการหักเหแสงที่ผ่านจากกระจกตาให้ไปตกที่จุดโฟกัสหรือจุดรับภาพชัดที่จอประสาทตา ทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดเจน

ต้อกระจก คือ เลนส์ตาที่ขาวขุ่นมากขึ้น

โดยปกติเกิดจากความเสืิ่อมเมื่ออายุมากขึ้นนั่นเอง มักพบในคนที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

สำหรับคนที่ที่อายุน้อยกว่านี้ ถ้ามีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น ต้อกระจกก็สามารถเกิดขึ้นได้เร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีโรคประจำตัว

ต้อกระจก จะทำให้การมองเห็นแย่ลง เหมือนการมองผ่านหมอก เปรียบเทียบว่า ถ้าเรามีเลนส์ตาที่ใส เมื่อเรามองวิวในห้องผ่านกระจกใส จะเห็นภาพได้ชัดเจน แต่ถ้าเรามองวิวผ่านกระจกที่ขุ่น วิวทีี่เราเห็นก็จะขุ่นตามไปด้วย

ความดันลูกตาสูง

คนปกติจะมีค่าความดันลูกตาอยู่ระหว่าง 6-21 มิลลิเมตรปรอท ถ้ามากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าความดันลูกตาสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน

ต้อกระจกทำให้ความดันลูกตาสูง ได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ได้

ยกตัวอย่าง ต้อกระจกที่ที่ให้ความดันลูกตาสูง เช่น

1.ต้อกระจกที่เป็นมากแล้วตัวต้อกระจกเองมีความหนามากขึ้น ทำให้ไปเลนส์ไปดันม่านตา ก่อให้เกิดช่องหน้าม่านตาแคบขึ้น ส่งผลให้เกิดการระบายน้ำในลูกตาได้ไม่ดี ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น

2.ต้อกระจกที่เป็นมากจนกลายเป็นต้อกระจกชนิดสุก (mature cataract) แล้วต้อกระจกที่สุกนั้นเกิดการสลายตัว ทำให้สารโปรตีนในต้อกระจกรั่วออกมาผ่านทางถุงหุ้มเลนส์ ก่อให้เกิดการอับเสบที่ช่องหน้าม่านตา และ เซลล์อักเสบไปอุดกั้นบริเวณมุมตาที่มีหน้าที่ระบายน้ำในลูกตา ทำให้การระบายน้ำในลูกตาได้ไม่ดี ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น เป็นต้น